RSS

Monthly Archives: พฤศจิกายน 2011

รอบรู้เรื่องไดโนเสาร์

 

  ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับไดโนเสาร์และซากดึกดำบรรพ์
   กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
   พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์
   ข่าวล่า Update
   การรับแจ้งซากดึกดำบรรพ์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ.2551
   คำถามที่มักถามบ่อย
   แหล่งซากดึกดำบรรพ์ที่ขึ้นทะเบียน
 
 

พิพิธภัณฑ์สิรินธร

ก่อนหน้านี้เราอาจไม่เคยรู้ว่า ดินแดนแถบอีสานแทบทั้งหมด เคยเป็นแหล่งที่อยู่ของไดโนเสาร์มาก่อน จนกระทั่งเมื่อปี 2519 นักธรณีวิทยาของกรมทรัพยากรธรณี ออกไปสำรวจแหล่งแร่ยูเรเนียมที่ อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น แล้วก็ได้ไปพบกับฟอลซิลไดโนเสาร์เป็นครั้งแรกของเมืองไทย

ในภาพจะแสดงถึงแนวการขุดเจาะหลุมเพื่อสำรวจแร่ในอดีต


ที่น่าตื่นเต้นไปกว่านั้นก็คือ ฟอลซิลไดโนเสาร์ที่พบยังเป็นชนิดที่ไม่เคยพบที่ไหนในโลกมาก่อนอีกด้วย จนได้รับการตั้งชื่อว่า ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน ตามสถานที่ค้นพบ  และเป็นการถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระเทพฯ

ฟอสซิลที่พบมีอายุประมาณ 130 ล้านปี เป็นไดโนเสาร์ชนิดกินพืชเป็นอาหาร หรือที่เรียกว่า “ซอโรพอด”


เจ้าซอโรพอดที่ว่าก็หน้าตาออกแนวช้างผสมยีราฟประมาณนี้


หลังจากนั้นก็มีการขุดพบฟอลซิลไดโนเสาร์ได้อีกหลายแห่งในเขตภาคอีสาน ส่วนที่ภูเวียงเองก็มีอีกหลายหลุมขุด แต่ที่เปิดให้นักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมกันได้มีอยู่ 4 หลุม อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติภูเวียง ที่จะพามาเที่ยวชมกัน


มาถึงที่อุทยานแห่งชาติกันแล้ว ก็แวะเสียค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานกันก่อน


อัตราค่าธรรมเนียม ผู้ใหญ่คนละ 40 บาท ส่วนเด็กคนละ 20 บาท

ถ้าเป็นชาวต่างชาติ ค่าธรรมเนียมผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท


เลยเข้ามาก็จะเจอกับศูนย์บริการนักท่องเที่ยว


แวะเข้ามาขอข้อมูลหลุมขุดค้นไดโนเสาร์ที่จะเข้าไปดูก่อนได้ที่นี่ มีเจ้าหน้าที่อัธยาศัยดีคอยต้อนรับและให้ข้อมูลกันอยู่


แต่ละหลุมขุดค้นจะต้องจอดรถแล้วเดินเท้าต่อเข้าไป

ขับรถเลยต่อขึ้นไปอีกราว 600 ม. จะถึงหน้าที่ทำการอุทยานฯ มีลานจอดรถอยู่ทางขวามือ

ตรงนี้เป็นจุดเริ่มเดินเท้าไปที่หลุมขุดค้นที่ใกล้ที่สุดคือ หลุมขุดค้นที่ 3


จากลานจอดรถ ข้ามมาฝั่งตรงข้ามจะมีร้านค้าเล็ก ๆ อยู่


จุดเริ่มต้นเส้นทางจะอยู่ข้าง ๆ กับร้านค้า


เดินไปอีกไม่ไกล ราว 300 ม.


ถึงแล้วอาคารหลุมขุดค้นที่ 3


ซากฟอสซิลที่นี่ ยังไม่ทราบชนิดที่แน่ชัด


แต่ลักษณะของกระดูกคอที่พบ ทำให้ทราบว่าเป็นไดโนเสาร์กินพืช หรือ ซอโรพอด


ภาพบรรยากาศหลุมขุดสมัยแรก ๆ ก่อนที่จะมาสร้างเป็นอาคารถาวรอย่างเห็น


ข้าง ๆ กับหลุมขุดตรงนี้ จะมีทางเดินเท้าไปหลุดขุดแห่งอื่น ๆ ได้ด้วย เหมาะกับคนที่ชอบเดินเท้าเที่ยวป่าไปด้วย แต่ทางอุทยานแนะนำว่าควรเดินตั้งต้นจากหลุมขุดที่ 9 แล้วค่อยวนกลับลงมาที่หลุมที่ 3 ตรงนี้อีกที


เดินย้อนกลับมานั่งพักกันที่ร้านค้าก่อน


มีเครื่องดื่มเย็น ๆ ให้เลือก ใครจะตุนซื้อติดรถไว้หน่อยก็ได้ เพราะหลุมขุดแห่งต่อไปจะไม่มีร้านค้าอย่างนี้แล้ว


ขับรถย้อนออกมาที่หน้าศูนย์บริการนักท่องเที่ยว จะมีป้ายชี้ทางไปหลุมขุดที่ 1,2 แล้วก็ 9


ทางไปจะเป็นเส้นเดียวกับที่ไปลานกางเต็นท์ เป็นถนนลูกรังเรียบรถเก๋งวิ่งได้สบาย


วิ่งรถมาจะเจอทางแยกไปหลุมขุดค้นที่ 2 กับหลุมขุดค้นที่ 1

หลุมขุดอันหลังนี่เป็นหลุมไฮไลต์ควรเก็บไว้ดูปิดท้ายรายการไม่งั้นเดี๋ยวแห่งอื่นจะจืดไป เพราะงั้นแนะนำว่าให้เลยไปที่หลุมขุดค้นที่ 9 ถัดเข้าไปก่อน


ส่วนใครที่จะเลือกเดินเท้าไปชมทั้ง 4 หลุมขุดที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปชม ให้เลยเข้าไปเริ่มเดินจากหลุมขุดที่ 9 อีกเหมือนกัน

จอดรถกันแล้วก็เดินตามป้ายนี้เข้าไปเลย


ทางจะต้องเดินขึ้นเนินไป เส้นทางชัดเจนไม่ต้องกลัวหลง


ใกล้จะถึงแล้ว


ตัวหลุมขุดจะเป็นอาคารกรุกระจกไว้โดยรอบ


ฟอสซิลที่พบเป็นส่วนของกระดูกสะโพกและท่อนหาง ของไดโนเสาร์ชนิดกินเนื้อ ที่พบที่นี่เป็นครั้งแรกของโลก ก็เลยได้รับการตั้งชื่อว่า สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส



ที่สำคัญคือเจ้าของฟอสซิลตัวนี้ จากการศึกษาก็เชื่อว่าจะเป็นต้นตระกูลของเจ้าทีเร็กซ์ หรือ ไทรันโนซอรัส เร็กซ์ ที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันดีจากหนังเรื่องจูราสสิกพาร์ค แต่ว่าเจ้าตัวนี้จะมีขนาดเล็กกว่ากันราวครึ่งหนึ่ง

ดูแล้วเจ้าพวกกินเนื้อก็จะหน้าตาดุร้ายหน่อย ไม่ดูใจดีเหมือนพวกซอโรพอด

(หุ่นจำลองที่เห็น จะยืนโชว์ตัวกันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง)


ถ้าใครชอบเดินเทรลหรือเส้นทางในป่า สามารถให้รถมาส่งลงที่ทางเข้าหลุมขุดค้นที่ 9 นี้ จากที่นี่จะมีทางเดินเท้าแวะไปชมหลุมขุดค้นแห่งอื่น ๆ คือหลุมที่ 2 หลุมที่ 1 แล้วก็ไปสุดทางที่หลุมที่ 3  ส่วนรถสามารถย้อนไปจอดรอรับอยู่ที่หน้าที่ทำการอุทยานฯ ที่มีร้านค้าอย่างที่แนะนำไปก่อนหน้า

เส้นทางนี้เป็นเส้นทางเดินเที่ยวที่ทางอุทยานแนะนำไว้ เพราะเดินชมได้ครบและช่วงที่ชันคือช่วงลงมาที่หลุมขุดค้นที่ 3 ก็จะเป็นทางลง ทำให้ไม่เหนื่อยเกินไป ลงมาถึงก็มีร้านน้ำให้นั่งพักดื่มน้ำดื่มท่าอยู่พอดีอีกด้วย ระยะทางเดินก็ประมาณ 2.55 กม.

ส่วนถ้าไม่นิยมเดินมาก ก็ขับรถย้อนกลับมาแวะไปชมหลุมขุดค้นที่ 2 กับหลุมขุดค้นที่ 1 ที่เลยผ่านมาต่อ


ทางช่วงนี้จะมีบางช่วงเป็นทางชันสักนิด เพราะงั้นถนนก็อาจจะไม่ราบเรียบไปบ้าง แต่รถเก๋งก็ยังวิ่งผ่านกันมาได้สบาย ๆ


จอดรถแล้ว ก็ไปที่หลุมขุดอันต่อไปกัน


หลุมนี้ต้องออกแรงเดินขึ้นบันได 80 ขั้นกันหน่อย


แต่ระหว่างทางเดินก็มีป้ายให้ความรู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับไดโนเสาร์ให้อ่านกันเพลิน ๆ


ที่หลุมขุดค้นที่ 2 ตรงนี้  สมเด็จพระเทพฯ และสมเด็จพระพี่นางฯ ได้เคยเสด็จมาทอดพระเนตรฟอลซิสไดโนเสาร์ที่นี่ด้วย


ที่นี่จะพบเป็นกระดูกส่วนคอของไดโนเสาร์ ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่


ถ้าที่หลุมนี้ดูแล้วเกิดความรู้สึกว่าไม่อลังการเท่าไหร่ ให้รีบเดินต่อขึ้นไปหลุมขุดค้นที่ 1 ที่อยู่ถัดขึ้นไป



ที่หลุมขุดค้นที่ 1 นี้จะเห็นว่ามีฟอลซิสไดโนเสาร์อยู่หลายชิ้น แล้วที่สำคัญที่สุดคือ ฟอลซิสไดโนเสาร์ถูกขุดพบที่นี่เป็นครั้งแรกของเมืองไทย

ชิ้นส่วนกระดูกที่พบที่นี่มีกระจัดกระจายอยู่หลายชิ้น เป็นของไดโนเสาร์ภูเวียง แล้วยังมีไดโนเสาร์กินเนื้ออีกชนิดที่ตัวขนาดเดียวกับไก่ ที่ชื่อว่า เทอโรพอด


ตรงนี้แสดงภาพถ่ายของฟอลซิสที่พบทีแรก กับบอกให้รู้ว่าชิ้นส่วนกระดูกที่พบเป็นส่วนไหนของไดโนเสาร์กันบ้าง


เดินมาเหนื่อย ๆ ถ้าอยากหาที่นั่งพัก เลยขึ้นไปจะมีศาลาให้นั่งพักผ่อน


แต่ถ้าอยากได้วิวสวย ๆ เดินเลยต่อไปอีกนิดจะมีศาลาอีกหลัง อยู่บนยอดสูงสุดที่เป็นจุดชมวิว


มุมหนึ่งบนศาลาชมวิว ลมเย็นสบายทีเดียว

ใครมีขนมน้ำท่าขึ้นมากินกัน ก็อย่าลืมเก็บขยะกลับไปทิ้งในตัวเมืองกันด้วย จะได้เป็นอีกแรงที่ช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อมในป่าที่เหลืออยู่แสนน้อยแล้ว

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน พฤศจิกายน 29, 2011 นิ้ว พิพิธภัณฑ์สิรินธร

 

ไดโนเสาร์กินเนื้อ

 

 สไพโนซอรัส            โอวิแรพเตอร์                            แบริโอนิกซ
 
ใส่ความเห็น

Posted by บน พฤศจิกายน 29, 2011 นิ้ว ไดโนเสาร์กินเนื้อ

 

ทฤษฎีการสูญพันธุ์

ทฤษฎีการสูญพันธุ์

การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์
สาเหตุของการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ได้มีการนำเสนอกันมาหลายปีแล้ว จากทฤษฏีซึ่งได้เคยมีผู้เสนอจำนวนมาก มีคนนับได้ถึง 95 ทฤษฏีที่ต่างกัน ตั้งแต่ความคิดที่ว่าพระเจ้ากลับลงมาในโลกและทำลายล้างด้วยปืนรังสี จนถึงความคิดว่ามันตายเนื่องจากท้องผูกหรือท้องเสีย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของพืชที่เป็นอาหารในยุคนั้น แต่มาถึงปัจจุบันนี้ได้ยอมรับความคิดของผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย รวมกันเหลือเป็นเพียง 2 ทฤษฏี คือ
ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการสูญพันธุ์
     ทฤษฏีแรกเป็นทฤษฏีของจักรวาลซึ่งให้ความเห็นว่ามีบางอย่างจากนอกโลกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของชีวิตบนโลก เมื่อ 65 ล้านปีมาแล้ว สิ่งที่กล่าวขวัญกันถึงมากเป็นพิเศษ คือ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยอุกกาบาตขนาดใหญ่ตกลงมาในโลก ซึ่งผลของการตกทำให้โลกเกิดความเสียหาย ส่งผลให้เกิดฝุ่นและไอน้ำจำนวนมาก กระจายขึ้นสู่บรรยากาศบดบังแสงอาทิตย์ เป็นเวลาแรมเดือน หรือแรมปี ยังผลให้โลกเกิดเย็นลงและมืด เป็นสาเหตุที่ฆ่าสัตว์และพืชรวมทั้งไดโนเสาร์ 

ภาพจินตนาการเหตุการณ์เมื่อ 65 ล้านปีก่อนเมื่ออุกกาบาตขนาดใหญ่ตกใส่โลก
ส่งผลให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์
ที่มา:http://newsbbc.co.uk

        ทฤษฏีที่สอง มาจากความรู้ที่ว่า ทวีปต่าง ๆ บนโลกมีการเคลื่อนไหวจากกระบวนการที่รู้จักกันในนาม ทวีปจร (Continental Drift) และเกิดเนื่องจากทวีปต่างๆ อยู่บนผิวเปลือกโลกบาง ซึ่งหุ้มห่อภายในโลกที่เป็นของเหลวร้อนเหมือนลาวาที่ไหลออกมาจากภูเขาไฟ ในขณะที่หินเหลวร้อนภายในโลกเคลื่อนไหวนั้น ก็จะดึงเอาเปลือกโลกเคลื่อนตัว ซึ่งจะทำให้ทวีปเคลื่อนที่ไปเหมือนกับมันอยู่บนสายพานขนาดยักษ์นั่นเอง
ในช่วงเวลาที่ไดโนเสาร์มีชีวิตอยู่ โลกค่อนข้างอบอุ่น เหมาะกับสัตว์เลี้อยคลาน
ขนาดยักษ์ จนกระทั่งปลายสมัยของยุคไดโนเสาร์ เราจะพบว่าพืชค่อยๆ เปลี่ยนเป็นพวกที่ชอบอากาศเย็นขึ้น ซึ่งสันนิษฐานได้ว่า สภาพอากาศของโลกได้เปลี่ยนไปอย่างช้า ๆ และเป็นสิ่งที่ไดโนเสาร์ไม่ชอบ เราจะเริ่มพบสัตว์ที่ชอบอากาศเย็นกว่าเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนหนา เริ่มมีมากกว่าพวกไม่มีขน คำอธิบายนี้ก็คือ ทวีปได้เคลื่อนไปมากในช่วงเวลา 140 ล้านปี ที่ซึ่งไดโนเสาร์อยู่อาศัย และอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไป

ภาพแสดงความเปลี่ยนแปลงของทวีปและอากาศ แบบค่อยเป็นค่อยไปทีละน้อย ซึ่งพวกโดโนเสาร์ไม่ชอบจนต้องสูญพันธุ์
ที่มา:www.das.uwyo.edu/ geerts/cwx/notes/chap15/ancient_files

จาก ทฤษฏีแรกที่บอกว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยการพุ่งชนของอุกกาบาต ในขณะที่อีกทฤษฏีหนึ่งกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปทีละน้อย ของอากาศ ซึ่งอาจจะเป็นพันหรือเป็นล้านปีก็ได้ ในขณะนี้ความรู้ที่เราได้ไม่สามารถจะบอกได้ว่าทฤษฏีไหนจะถูกกว่ากัน ในขณะที่กลุ่มที่เชื่อทฤษฏีดาวตก มีเหตุผลว่า เขาสามารถพิสูจน์ได้ว่าไดโนเสาร์ตายไปทั้งหมดอย่างทันทีทันใด ทั้งนี้เนื่องจากไม่มีการพบไดโนเสาร์อีกเลย หลังจากยุคครีเทเชียสแล้ว และยังเชื่อว่าสามารถพิสูจน์ได้ว่าดาวตกเป็นเหตุให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้ง ใหญ่ เพราะว่าเขาพบชั้นดินที่สะสมตัวในช่วงปลายยุคครีเทเชียส มีส่วนประกอบของแร่ตัวหนึ่ง ซึ่งมีธาตุอิริเดียมอยู่มากเป็นพิเศษ นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องนี้กล่าวว่าอิริเดียมที่มีปริมาณสูงเช่นนี้ เกิดได้โดยทางเดียวเท่านั้น คือ จากอุกกาบาตที่มาจากนอกโลก ธาตุอิริเดียมน่าจะมาจากฝุ่นซึ่งเกิดจากการระเบิดของอุกกาบาตขณะที่ชนโลก เหมือนกับระเบิดขนาดมหึมาทีเดียว
แต่เหล่านักวิทยาศาสตร์ที่ชอบทฤษฏีที่อากาศมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ ต่างก็
มีความเห็นว่า ไดโนเสาร์นั้นไม่ได้สูญพันธ์ไปอย่างทันทีทันใด เช่นเดียวกับข้ออ้าง แต่ดูเหมือนว่ามันจะค่อย ๆ ลดน้อยลงในช่วงเวลาหลายล้านปี และยังแสดงลักษณะของพืชหลาย ๆ ชนิดที่ค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นพืชที่ชอบอากาศเย็น นักวิทยาศาสตร์เหล่านี้ยังอ้างถึงธาตุอิริเดียมที่มีค่าผิดปกตินั้นว่า ไม่ได้มาจากการระเบิดของอุกกาบาตที่พุ่งเข้าชนโลก แต่มาจากการระเบิดของภูเขาไฟ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างมากมายในช่วงสิ้นยุคครีเทเชียส ธาตุอิริเดียมถูกกักอยู่ในหินหลอมละลายภายใต้โลก และถูกพ่นขึ้นมาในช่วงเวลาที่เกิดการระเบิดของภูเขาไฟขนาดใหญ่

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน พฤศจิกายน 29, 2011 นิ้ว ทฤษฎีการสูญพันธ์

 

เหตุการณ์ การสูญพันธุ์

ตารางสรุปเหตุการณ์ การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ 5 ครั้งที่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ให้การยอมรับ

ช่วงเวลาย้อนหลังโดยประมาณ จำนวนสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์โดยประมาณ ข้อสัณนิษฐานถึงสาเหตุ
429-439 ล้านปี สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตซึ่งอาศัยในน้ำสูญพันธุ์ไป 25% คิดเป็น 60% ของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำทั้งหมด น้ำทะเลลดระดับลงจากการก่อตัวเป็นก้อนน้ำแข็งยักษ์ และต่อมาน้ำทะเลจึงเพิ่มระดับขึ้นกะทันหัน จากการละลายของก้อนน้ำแข็งขนาดยักษ์
364 ล้านปี สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำสูญพันธุ์ไป 22% คิดเป็น 57% ของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำทั้งหมด ยังไม่มีสมมติฐานที่มีน้ำหนักเพียงพอ
251 ล้านปี
  • สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ไป 95% ของจำนวนสายพันธุ์ทั้งหมดบนโลก
  • สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำสูญพันธุ์ไป 53% คิดเป็น 83% ของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำทั้งหมด
  • สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตบนพื้นดินทั้งพืชและสัตว์สูญพันธุ์ไป 70% ของจำนวนสายพันธุ์ทั้งหมดที่อาศัยบนบก
  • สมมติฐานที่ 1 อุกกาบาตขนาดใหญ่ หรือดาวเคราะห์น้อยพุ่งเข้าชนโลก
  • สมมติฐานที่ 2 ภูเขาไฟใต้น้ำระเบิด ทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลง
  • สมมติฐานที่ 3 อุกกาบาตพุ่งเข้าชนโลก และไปกระตุ้นให้เกิดภูเขาไฟระเบิดครั้งใหญ่
199-214 ล้านปี
  • สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำสูญพันธุ์ไป 22% คิดเป็น 52% ของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำทั้งหมด
  • สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตบนบกไม่ทราบจำนวนที่สูญพันธุ์ที่แน่ชัด
ภูเขาไฟใต้น้ำระเบิดครั้งใหญ่ที่บริเวณตอนกลางของมหาสมุทรแอตแลนติก ปลดปล่อยลาวาจำนวนมหาศาลออกมา และอาจทำให้เกิด ภาวะโลกร้อนขั้นวิกฤต โดยพบหลักฐานการระเบิดจากหินภูเขาไฟที่ทางตะวันออกของสหรัฐอเมริกา ทางตะวันออกของบราซิล และทางเหนือของแอฟริกาและสเปน
65 ล้านปี
  • สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำสูญพันธุ์ไป 16% คิดเป็น 47% ของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำทั้งหมด
  • สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยบนบกสูญพันธุ์ไป 18% ของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังที่อาศัยบนบก รวมไปถึงไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ทั้งหมด
ดาวเคราะห์น้อยขนาดความกว้างหลายไมล์พุ่งเข้าชนโลก ทำให้เกิดหลุมอุกกาบาตชิกซูลูบ (Chicxulub Crater) ที่บริเวณคาบสมุทรยูคาทัน (Yucatan Peninsula) และใต้อ่าวเม็กซิโก
 
ใส่ความเห็น

Posted by บน พฤศจิกายน 29, 2011 นิ้ว เหตุการณ์การสูญพันธ์

 

ไดโนเสาร์สายพันธุ์มีปีก

 

นักวิจัยเมืองผู้ดี ศึกษาใหม่ พบหลักฐานบ่งชี้ไดโนเสาร์มีปีกไม่ได้บินโฉบจับปลาทะเลกินเป็นอาหารอย่างที่ คิด แต่กลับเดินตะคุ่มๆ ย่องเงียบ คอยจับเหยื่อบนบกกินเป็นอาหารเหมือนไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดอื่น

วารสารพีแอลโอเอส วัน (Public Library of Science One: PLoS One) ตีพิมพ์ผลการศึกษาฟอสซิลสัตว์เลื้อยคลานบินได้ในยุคดึกดำบรรพ์ของทีมนัก วิจัยอังกฤษ ที่พบว่าสัตว์ดังกล่าวมิได้มีพฤติกรรมบินโฉบเหนือผิวน้ำ เพื่อจับปลาในทะเลกินเป็นอาหาร ทว่ากลับค่อยๆ เดินย่องตะครุบเหยื่อบนบกเหมือนไดโนเสาร์นักล่าตัวอื่นๆ

ข่าวจากไลฟ์ไซน์ด็อตคอมรายงานว่า เท อโรซอร์ (pterosaur ) หรือสัตว์เลื้อยคลานมีปีกในยุคโบราณ ที่ดำรงชีวิตอยู่บนโลกในช่วง 230-65 ล้านปีก่อน ไม่ได้ล่าเหยื่อโดยการบินโฉบอย่างที่คิด แต่พวกมันกลับค่อยๆ เดินย่องเงียบก่อนที่จะเขมือบเหยื่อผู้โชคร้ายต่างหาก

การ ค้นพบนี้ขัดกับแนวคิดก่อนหน้า ของนักบรรพชีวินที่มักจะเข้าใจว่าพวกเทอโรซอร์เป็นนักล่า ที่หาอาหารโดยการบินโฉบลงมาจับเหยื่อจำพวกปลา ที่แหวกว่ายอยู่ใต้ผิวน้ำตามทะเลหรือทะเลสาบเช่นเดียวกับพฤติกรรมการหาอาหาร ของนกนางนวลในปัจจุบัน

“ตามทฤษฎีของพวกเรา การบินถือเป็นหลักการเคลื่อนที่ขั้นต้นเท่านั้น ที่พวกมันจะใช้วิธีนี้เพื่อเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง พวกเราคิดว่าการดำรงชีวิตหลักๆ ของพวกมัน ไม่ว่าจะเป็นการหาอาหารหรือการสืบพันธุ์ ย่อมกระทำเมื่ออยู่บนพื้นดิน มากกว่าขณะอยู่ในอากาศแน่นอน” คำชี้แจงของมาร์ค วิตตัน (Mark Witton) จากมหาวิทยาลัยพอร์ตสมัธ (University of Portsmouth) ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมที่ศึกษาเรื่องดังกล่าว

ทั้งนี้วิ ตตันและทีมวิจัยได้ศึกษาพฤติกรรมการหาอาหารของพวกเทอโรซอร์ จากการวิเคราะห์ฟอสซิลของเทอโรซอร์กลุ่มที่ปราศจากฟัน หรือเรียกอีกอย่างว่า อัซห์ดาร์คิด (azhdarchid) ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานมีปีกขนาดใหญ่กว่าเทอโรซอร์ชนิดอื่นๆ โดยที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดหนักถึง 250 กิโลกรัม เมื่อกางปีกออกมีความกว้างราว 10 เมตร และลักษณะความสูงคล้ายกับยีราฟ
ข้อ มูลจากไทม์สออนไลน์รายงานว่า ไดโนเสาร์ชนิดนี้เป็นที่รู้จักครั้งแรกในช่วงทศวรรษที่ 70 และวิถีการดำรงชีวิตของพวกมัน ก็เป็นหัวข้อที่นักวิทยาศาสตร์นำมาโต้แย้งกันค่อนข้างมาก และชื่ออัซห์ดาร์คิดนี้มาจากภาษาอุซเบกิสถาน ซึ่งหมายถึงมังกร โดยในไซน์เดลียังระบุเพิ่มเติมว่าอัซห์ดาร์คิดนี้มีลักษณะคล้ายกับนกในยุค ปัจจุบันบางชนิด คือ นกเงือกและนกกระสา

วิตตันศึกษาตัวอย่างฟอสซิลของอัซห์ดาร์คิดที่พบในประเทศมากกว่า 50% และในเยอรมนีอีกบางส่วน ศึกษา ตั้งแต่โครงกระดูกส่วนต่างๆ ตลอดจนช่วงคอ และขาหลัง เปรียบเทียบกับนกในยุคปัจจุบันที่หาอาหารโดยการร่อนเหนือผิวน้ำแล้วจับปลาใน ทะเลกิน ซึ่งพบว่าไม่สอดคล้องกันเลย

“ข้อมูล ทางกายวิภาคประกอบกับสิ่งแวดล้อมบริเวณที่ค้นพบฟอสซิลอัซห์ดาร์คิดเหล่านี้ ก็บ่งชี้ว่าพวกมันดำรงชีวิตอยู่และหาอาหารโดยเดินไปเดินมาในบริเวณโดยรอบ ก้มหมอบให้ต่ำลง แล้วตะครุบจับเหยื่อในบริเวณนั้นกินเป็นอาหาร” คำอธิบายของดาร์เรน ไนช์ (Darren Naish) นักวิจัยในทีม

นัก วิจัยอธิบายเพิ่มเติมว่า สัตว์ที่จับปลาตามผิวน้ำกินเป็นอาหารอย่างเช่นนกนางนวลจะใช้จงอยปากล่างลาก ผ่านไปตามผิวน้ำจนกระทั่งกระทบถูกกับปลาหรือกุ้งแล้วจึงคาบขึ้นจากน้ำเพื่อ กินเป็นอาหาร ถ้าหากว่าจงอยปากของพวกมันไปกระทบหรือกระแทกถูกสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ แรงกระแทกจากจงอยปากก็จะถูกส่งผ่านไปยังส่วนหัว ลำคอ และภายในร่างกาย ซึ่งอาจทำให้มันตกลงไปในน้ำได้ ดังนั้นพวกมันจึงต้องมีลำคอที่มีความยืดหยุ่นเป็นอย่างดีเพื่อป้องกันตัวเอง เมื่อเกิดเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าว

ทั้งนกนางนวลและนกกระทุงก็มีลำคอที่มีคุณสมบัติเป็นดังว่า แต่ไม่ใช่กับลำคอของอัซฮ์ดาร์คิดที่ นักวิจัยศึกษา ซึ่งแม้จะมีความยาวของช่วงลำคอราว 3 เมตร ทว่าแข็งทื่อเป็นอย่างมาก แต่ลำคอที่ยาวขนาดนั้นน่าจะเอื้อให้อัซห์ดาร์คิดเสาะหาสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก กว่าที่อยู่บนพื้นดินกินเป็นอาหารได้อย่างไม่ยาก แม้แต่ไดโนเสาร์ขนาดเล็กเท่ากบ

เหตุผลอีกประการหนึ่ง ที่ทำให้ไดโนเสาร์มีปีกไม่ได้บินหาอาหารเหนือผิวน้ำ นักวิจัยชี้ว่าเพราะมีเท้าขนาดเล็กในขณะที่มีร่างกายขนาดใหญ่ จึงเป็นอุปสรรคต่อการลุยน้ำหรือย่ำในดินโคลนอ่อนนุ่มด้วยเท้าเล็กๆ ที่ต้องแบกรับน้ำหนักตัวกว่า 1 ใน 4 ตัน.

 

ไดโนเสาร์กินพืช

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน พฤศจิกายน 29, 2011 นิ้ว ไดโนเสาร์กินพืช

 

สายพันธุ์ที่น่าสนใจ

 คาร์โนซอร์ ::::: ซิตตะโกซอรัสสัตยารักษ์กี :::::

ซิทตะโคซอรัส :::::

ซีลูโรซอร์ :::::

ดิพโพลโดคัส :::::

 เทอราโนดอน:::::

ไทรเซอราทอปส์ ::::

ไทแรนโนซอรัส :::::

บาริโอนิกซ์ :::::

โปรโตเซอราทอปส์ :::::

ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรนี :::: สไตราโคซอรัส

::::: สยามโมซอรัส สุธีธรนี ::::: อะแพททอซอรัส ::::: อัลโลซอรัส ::::: อาร์คีออฟเทอริกซ ::::: อิกัวโนดอน :::::

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน พฤศจิกายน 29, 2011 นิ้ว สายพันธุ์ที่น่าสนใจ

 

โครงสร้างกระดูกไดโนเสาร์

โครงสร้างกระดูกไดโนเสาร์

ฟอสซิล…ไดโนเสาร์

3 ซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ในประเทศไทย

 

วิวัฒนาการของไดโนเสาร์

ไดโนเสาร์พวกแรกปรากฏขึ้นในโลกช่วงตอนปลายของยุคไทรแอสซิก เมื่อกว่า
225 ล้านปีก่อนเป็นเวลาที่ทวีปทั้งหลายยังต่อเป็นผืนเดียวกัน สัตว์เลื้อยคลานพวกนี้มีชีวิตอยู่ และมีวิวัฒนาการตลอดระยะเวลาอันยาวนานถึง 160 ล้านปี กระจัดกระจายแพร่หลายอยู่ทั่วไปในโลก และได้สูญพันธุ์ไปหมดในปลายยุค ครีเทเชียส หรือเมื่อ 65 ล้านปีที่ล่วงมาแล้ว ไดโนเสาร์ได้เจริญพันธุ์แพร่หลายเป็นเวลายาวนาน และตลอดช่วงเวลาอันยาวนานนี้ได้มีวิวัฒนาการออกเป็นวงศ์สกุลต่างๆ มากมาย เท่าที่ค้นพบ และจำแนกแล้วประมาณ 340 ชนิด และคาดว่ายังมีอีกเป็นจำนวนมากที่กำลังรอการค้นพบอยู่ในที่ต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยที่เป็นแหล่งหนึ่งซึ่งมีหินตะกอนที่สะสมตัวอยู่ในช่วงเวลาที่มีไดโนเสาร์เคย